...Places to visit...
danist343.freeservers.com
เวปไซต์รวมสถานที่ท่องเที่ยวในนครปฐม
หน้าหลัก
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
ร้านอาหาร
ของฝาก
ข่าวประชาสัมพันธ
เกี่ยวกับจังหวัดนครปฐม

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

  • พิพิธภัณฆ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตั้งอยู่เลขที่ 43/2 หมู่ 1 ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรีกิโลเมตรที่ 31 ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรีเป็นสถานที่ จัดแสดง หุ่นขี้ผึ้ง-ไฟเบอร์กลาส ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของกลุ่มศิลปินไทยโดยมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะ ส่งเสริมเผยแพร่ และอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมประเพณี ของไทย ประกอบด้วยหุ่นชุดต่าง ๆได้แก่ ชุด พระอริยสงฆ์ ชุดพระ-บรมรูปพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี และชุดมุมหนึ่งของชีวิต เปิดบริการทุกวัน ไม่ เว้นวันหยุด โดย- วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 09.00-17.30 น.- วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิด เวลา 08.30-18.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 140 บาทสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่โทร. 01-2116261

 

  • สวนสามพราน

สวนสามพราน เป็นสถานที่พักผ่อนตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร อยู่ติดแม่น้ำนครชัยศรี มีเนื้อที่ 137.5 ไร่ ภายในจัดแต่งเป็นสวนดอกไม้นานาชนิด หมู่บ้านไทย และบางส่วน เป็นโรงแรม ที่พัก และสนามกอล์ฟ นอกจากนี้ยังมีการแสดงพื้นบ้านให้ชมในช่วงบ่ายเป็นประจำทุกวัน สวนสามพรานเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.
ค่าบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท
ค่าบัตร- ผ่านประตูรวมค่าเข้าชมการแสดงต่าง ๆ คนละ 190 บาท ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ โทร. 295-3261-4

 

  • พุทธมณฑล

พุทธมณฑล เป็นพระพุทธศาสนสถาน ที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีบริเวณเนื้อที่ทั้งหมด ๒,๕๐๐ ไร่ ณ ตำบลศาลายา อำเภอ นครชัยศรี และตำบลระทึก อำเภอสามพราน ในบริเวณมีการปลูกต้นไม้ นานาชนิด และได้จัดสร้างปูชนียสถาน ที่สำคัญทางพุทธศาสนา อันได้แก่ที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และปฐมเทศนา จำลองไว้ที่พุทธมณฑลนี้ อีกทั้ง ยังมีพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งมีความสูง ๒,๕๐๐ กระเบียด หรือ ๑๓.๗๕ เมตร นามว่า "พระศรีศากยทศพล ญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" ประดิษฐานเป็นศรีสง่า และเป็นที่เคารพสักการบูชาอยู่ด้วย

 

  • วัดไร่ขิง

วัดไร่ขิง ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพราน ห่างจากกรุงเทพฯ 32 กิโลเมตร มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานีตำรวจ โพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพรานและทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิงเป็น วัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปจากวัดศาลาปูน มาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อ วัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะ เป็นสมัย เชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนาและล้านช้าง ตามตำนานเล่าว่า ลอยน้ำมา ได้อัญเชิญไว้ที่ วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็ม ๆ ว่า วัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อ วัดไร่ขิงไปในที่สุด วัดไร่ขิงเป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันดี นิยมเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงกันอยู่เสมอ ทุกวัน อาทิตย์จะมีตลาดนัด อาหารและผลไม้จำหน่ายหน้าวัด และที่บริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์ จะมี ชาวสวนพาย เรือนำผลไม้มาขาย และบริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์นี้เป็นเขตอภัยทาน ร่มรื่น มีปลาสวายตัวโต นับพันอาศัย อยู่ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อขนมปังเลี้ยงปลาได้ และยังมีก๋วยเตี๋ยวเรือ (หมู)รสเลิศขายริมแม่น้ำ ทุกวัน นอก จากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า รวบรวมของเก่าเช่นถ้วยชาม หนังสือเก่า ซึ่งชาวบ้านนำมาถวายวัด จัดแสดง ไว้ ในระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ทางวัดไร่ขิงจะจัดงานนมัสการหลวงพ่อ วัดไร่ขิง มีการออกร้านและมหรสพมากมาย

 

  • พระประโทณเจดีย์

พระประโทณเจดีย์ อยู่ริมถนนเพชรเกษม ก่อนจะเข้าเมืองนครปฐม เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ เก่าแก่โบราณอีกองค์หนึ่ง ซึ่งมี ตำนานเล่าว่า พระยาพาน เป็นผู้สั่งให้สร้างขึ้น เพื่อบรรเทาบาป ที่ตนได้ฆ่ายายหอม ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูตนเอง มาแต่เล็ก ซึ่งมีพระคุณดุจมารดา

 

  • พระราชวังสนามจันทร์

พระราชวังสนามจันทร์ ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันตกราว 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา พระราช วังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตั้งแต่ยังทรงดำรง พระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งมี มูลเหตุจูงใจมาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์ องค์พระปฐมเจดีย์ ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองนครปฐมเป็น อย่างยิ่ง ทรงเห็นว่าเป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อน เนื่องจากมีภูมิประเทศสวยงามร่มเย็น ดังที่ได้ ทรงไว้ในลายพระหัตถ์ เรื่องการแก้ไขวิหารหลวงตอนหนึ่งว่า "ในรัชกาลที่ 5 ฉันได้ออกไปพักอยู่ที่เมืองนคร ปฐมบ่อย ๆจึงได้ใฝ่ใจในองค์พระนั้นมากแต่นั้นมา" เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ และ ยังไม่ได้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เวลา เสด็จนครปฐมมักจะประทับที่พลับพลาชั่วคราวในดงไผ่ บริเวณ มหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน หรือมิฉะนั้น ก็จะประทับที่พระตำหนักบังกะโล ซึ่งอยู่ตรงมุมถนนขวาองค์พระ ใกล้กับสถานีตำรวจ ซึ่งปัจจุบันพระตำหนัก หลังนี้ได้รื้อลงหมดแล้ว พระองค์โปรดฯ การทรงม้าพระที่นั่ง สำรวจท้องที่เป็นอย่างมาก บางครั้งก็เสด็จไปที่ ตำบลวัดทุ่งพระเมรุ แต่ส่วนใหญ่โปรดเสด็จไปที่บริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ของชาว บ้านปลูกพืชไร่และพืชล้มลุก เช่น กล้วย สับปะรด ไว้มากมาย สลับกับทุ่งหญ้ารกเรื้อและป่าไผ่ขึ้นเป็นดง ทรงพอพระราชหฤทัยมาก เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมจะสร้างเป็น ที่ประทับถาวรในการเสด็จฯแปรพระ ราชฐาน จึงรับสั่งขอซื้อจากชาวบ้านเจ้าของที่โดยใช้เงินจากพระคลังข้าง ที่ทั้งสิ้น พระราชประสงค์ ในการ ซื้อที่ดินจำนวนมากมาย เพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ครั้งนี้มิใช่จะเห็นแก่ ความสุขสบายส่วนพระองค์ ในการเสด็จฯ แปรพระราชฐานเท่านั้น แต่เพราะทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง นั่นก็ คือ ทรงเห็นว่านครปฐม เป็นเมืองที่มีชัยภูมิ เหมาะสำหรับต้านทานข้าศึกซึ่งจะยกเข้ามาทางน้ำได้อย่างดี ด้วย ทรงจดจำเหตุการณ์ เมื่อ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้ และไม่ต้องการที่จะให้ประ เทศไทยตกอยู่ใน สภาพดังกล่าว จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สอง เมื่อประเทศ ชาติประสบปัญหาวิกฤติ พระราชวังสนามจันทร์ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2450 มีหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาได้ เลื่อนยศเป็น พระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จและพระราชทาน นามตามประกาศ ลงวันที่ 27สิงหาคม 2454 มีเพียง 2 พระที่นั่ง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม และพระที่นั่ง อภิรมย์ฤดี ต่อมาจึง สร้างเพิ่มเติมจนมีเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แม้จะสร้างพระที่นั่งต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์ ตามพระราชวังแต่เก่า ก่อน เพิ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐาน เหนือพระแท่นรัตนสิงหา สน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 เวลา 4 นาฬิกา 47 นาที 51 วินาที พระ ราชวังสนามจันทร์ มีอาณาเขตกว้างขวาง ประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบมีคูน้ำ ล้อมอยู่ชั้นนอก ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวัง เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ ตัวอาคารก่ออิฐ- ถือปูน เป็น ตึก 2 ชั้น แบบตะวันตก ทรงใช้เป็นที่ประทับตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ห้องต่าง ๆ บนพระที่นั่งมี ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องเสวย ห้องภูษา ฯลฯ และในพระที่นั่งพิมานปฐมนี้เอง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประทับทอดพระเนตร เห็นปาฏิหาริย์ขององค์พระปฐมเจดีย์บนแท่น ไม้สักมีขนาด 2 เมตร ชื่อว่า "พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย์ ์" ขณะนี้ทางการได้รื้อไปตั้งไว้ที่หน้าพระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ ส่วนพระที่นั่งพิมานปฐมนั้น ในปัจจุบันใช้เป็นสวนหนึ่งของ ศาลากลางจังหวัดนครปฐม

 

  • วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ ที่ใหญ่และสูงที่สุด ของไทย องค์พระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่มากที่สุด จังหวัดนครปฐม ได้ใช้ตราพระปฐมเจดีย์เป็น ตรา ประจำจังหวัด พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4เมื่อ พ.ศ. 2396 โปรดเกล้าให้ครอบองค์เดิมที่ชำรุดหักพัง-ลง การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ.2413 มีความสูง 3 เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว ฐานวัดโดยรอบได้5 เส้น 17 วา 3 ศอก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้สง่างามยิ่งขึ้น และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัด ประจำรัชกาลที่ 6